คุมองไม่กำหนดอายุของผู้เรียน แต่ละศูนย์อาจมีกำหนดอายุขั้นต่ำในการรับนักเรียนที่แตกต่างกันไป ขอให้ท่านลองสอบถามกับทางศูนย์ล่วงหน้า
ในการเรียนระบบคุมอง เราหาจุดที่นักเรียนแต่ละคน “ทำได้” และให้พวกเขาเริ่มเรียนจากจุดนั้นๆ สำหรับบุตรหลานที่ยังอายุไม่มากจะได้เริ่มเรียนจากแบบฝึกหัดซึ่งถูกออกแบบมาให้บุตรหลานค่อยๆ ทำความรู้จักกับโลกของคำศัพท์และตัวเลข ด้วยแบบฝึกหัดและการสอนที่เหมาะสม บุตรหลานจะสามารถเรียนด้วยความรู้สึกว่าตนเองกำลังเล่นอยู่ แบบฝึกหัดของคุมองจะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นทีละน้อย ยิ่งไปกว่านั้นคุมองยังมีแบบฝึกหัดฝึก “ZunZun” เพื่อฝึกขีดเส้นและพัฒนาทักษะการควบคุมดินสอของเด็กอีกด้วย
ในวัยเด็กเล็กจะไม่มีการแบ่งแยกว่าสิ่งใดคือการเรียน สิ่งใดคือการเล่น
จากการศึกษากรณีตัวอย่างของเด็กจำนวนมากพบว่า หากให้ความสำคัญกับความสนใจของเด็ก เช่น ตัวหนังสือหรือตัวเลข และให้เด็กเรียนตามความต้องการของตนเอง พวกเขาจะพัฒนาความสามารถไปได้ไกลกว่าที่เราคิด
เด็กที่รู้จักคำศัพท์จำนวนมากจะสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของตนเองออกมาเป็นคำพูด ทำให้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กที่มีทักษะทางความคิดสูงและรู้จักเอาใจใส่ผู้อื่นอีกด้วย เมื่อเข้าโรงเรียนแล้ว พวกเขาจะมีทักษะด้านวิชาการที่เพียงพอที่จะทำให้สนุกกับการเรียน เมื่อไม่ต้องกังวลเรื่องการเรียนจึงสามารถคิดถึงผู้อื่นได้
นอกจากทักษะด้านวิชาการแล้ว คุมองยังช่วยพัฒนาสมาธิ การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และความชอบท้าทายในการลองทำสิ่งใหม่ๆ ได้อีกด้วย วัยเด็กเล็กจึงเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น การไม่ทำลายต้นอ่อนนั้นและให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานไปตามความสนใจของตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญ
ขอให้ท่านปรึกษาคุณครูโดยไม่ต้องกังวล!
สำหรับเด็กเล็ก อาจมีเด็กเล็กบางคนที่ร้องไห้เพราะรู้สึกกลัวสถานที่ใหม่ๆ หรือในทางตรงข้าม อาจมีเด็กที่ตื่นเต้นจนทำเสียงดัง ขอให้ท่านผู้ปกครองไม่ต้องกังวล ถึงแม้บุตรหลานจะไม่สามารถนั่งเรียนได้ตั้งแต่วันเรียนวันแรก แต่หลังจากนั้นบุตรหลานจะเริ่มจากการทำความคุ้นเคยกับศูนย์ และเมื่อทำความเข้าใจขั้นตอนการเรียนได้มากขึ้นแล้ว เขาก็จะสามารถนั่งเรียนคนเดียวได้นานมากขึ้น
ที่ศูนย์คุมอง คุณครูและคุณครูผู้ช่วยจะประเมิน “สิ่งที่นักเรียนแต่ละคนทำได้” และคอยช่วยเหลือเกี่ยวกับการเรียน ขอให้ท่านผู้ปกครองสบายใจได้ และหากมีข้อกังวลใดๆ สามารถปรึกษาคุณครูของศูนย์ได้ทุกเมื่อ
คุมองเป็นระบบการศึกษาที่ให้นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้จากแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเองโดยไม่ยึดติดกับอายุ เด็กทุกคนจึงสามารถเรียนคุมองได้
ผู้ปกครองอาจกังวลว่าบุตรหลานยังอ่านและเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถของเด็กเล็กแต่ละคนจะแตกต่างกันอย่างมาก บุตรหลานของท่านย่อมมี “สิ่งที่ทำได้” เป็นจำนวนมากเช่นกัน ลองหาสิ่งที่บุตรหลานของท่านทำได้โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เช่น เขาชอบวาดรูปไหม ชอบพับกระดาษไหม ชอบเล่นจิ๊กซอว์ไหม นับเลขได้ถึงเท่าไร แล้วกล่าวชมบุตรหลาน
สำหรับนักเรียนที่ยังจับดินสอได้ไม่มั่นคงหรือขีดเส้นไม่ได้ตามที่ต้องการ พวกเขาจะได้พัฒนาทักษะการควบคุมดินสอ แรงกดดินสอ ทักษะการทำงาน และสมาธิ อย่างสนุกสนานผ่านแบบฝึกหัด “ZunZun”
ในแบบฝึกหัด “คณิตศาสตร์” นักเรียนจะได้พัฒนาทักษะการอ่านตัวเลขและนับเลขก่อนจะก้าวไปเรียนแบบฝึกหัดเรื่อง “การบวก 1”
สำหรับวิชา “การอ่านภาษาไทย” และ “ภาษาอังกฤษ” นักเรียนจะได้พัฒนาทักษะการอ่านและเรียนรู้คำศัพท์อย่างเพียงพอก่อนจะก้าวไปฝึกเขียนและสร้างประโยค
ในแต่ละวิชา นักเรียนจะได้พัฒนาความสามารถด้วยแบบฝึกหัดที่ยากขึ้นทีละน้อย โดยมีคุณครูคุมองคอยเสริมความมั่นใจและกำลังใจให้แก่นักเรียน
ในช่วงแรก เราจะให้บุตรหลานของท่านเริ่มเรียนจากระดับที่เขาสามารถทำได้โดยไม่ฝืนกำลังของตนเอง ความยินดีว่า “ทำได้แล้ว!” จะสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับพวกเขา ผู้ใหญ่มักประเมินด้วยมุมมองของตนเองว่า “เนื้อหานี้ยากหรือง่ายเกินไป” แต่ที่คุมอง เราจะมองจากมุมมองของเด็ก และคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาความสามารถของพวกเขาได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วในช่วงเริ่มเรียน เราจะให้บุตรหลานเริ่มต้นจากระดับที่ต่ำกว่าชั้นเรียน ซึ่งเป็นระดับที่บุตรหลานสามารถทำได้โดยไม่ฝืนกำลังของตนเกินไป เมื่อเริ่มต้นเรียนจากเนื้อหาระดับนี้
แม้แต่นักเรียนที่ไม่ชอบเรียนก็จะรู้สึกว่า “ทำได้อย่างสบาย” เมื่อเด็กๆ เห็นเครื่องหมายตรวจงานที่เป็นวงกลมและตัวเลข 100 ขนาดใหญ่ ก็จะเกิดความมั่นใจว่า “ถ้าพยายามแล้ว จะทำได้” นำไปสู่ความสนใจที่ “อยากทำมากขึ้น” นอกจากนี้ การรวบรวมสมาธิเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาอันสั้นยังช่วยพัฒนานิสัยการเรียนที่ดีอีกด้วย
หากมองด้วยมุมมองผู้ใหญ่ อาจรู้สึกว่า “เรียนเนื้อหาง่าย ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะได้ 100 คะแนนเต็ม” แต่ในช่วงแรกสำหรับนักเรียนนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่เนื้อหาของโจทย์ แต่ความรู้สึกยินดีว่า “ทำได้ทุกข้อเลย ดีใจจัง!” นั้นสำคัญกว่ามาก เมื่อได้ 100 คะแนนไปเรื่อยๆ นักเรียนจะรู้สึกสนุกกับการเรียน และเมื่อเรียนคุมองด้วยความตั้งใจอย่างต่อเนื่อง พวกเขาก็จะสามารถทำแบบฝึกหัดระดับที่ทันชั้นเรียน และก้าวหน้าไปเรียนเนื้อหาที่ยังไม่ได้เรียนที่โรงเรียนต่อไป
เราจะพิจารณาให้ทำซ้ำจาก “ความถูกต้อง” และ “เวลาที่ใช้” เพื่อพัฒนาความสามารถทางวิชาการที่เพียงพอสำหรับการก้าวหน้าไปเรียนระดับถัดไป
ที่คุมอง นักเรียนมักต้องทำซ้ำในเนื้อหาเดิมหลายรอบ ถึงแม้ทำแบบฝึกหัดได้ 100 คะแนนแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี การได้ 100 คะแนน อาจมีทั้ง 100 คะแนนที่ได้มาด้วยความพยายามอย่างมาก และ 100 คะแนนที่ได้มาอย่างสบาย ความแตกต่างของการได้ 100 คะแนนทั้งสองแบบนี้จะปรากฏให้เห็นเมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดก้าวหน้าไปเรื่อยๆ
เรามักพบว่าหากนักเรียนเรียนก้าวหน้าไปด้วยความสามารถในการทำแบบฝึกหัดแค่พอทำได้ พวกเขาจะประสบยากความลำบากในภายหลัง การก้าวหน้าไปโดยที่สามารถทำแบบฝึกหัดได้อย่างคล่องแคล่วนั้นมีความมั่นคงมากกว่า และทำให้นักเรียนไม่ลำบากมากจนเกินไป จุดประสงค์ของการให้ทำซ้ำไม่ใช่ “ซ้ำเพราะทำไม่ได้” แต่เป็นการ “ซ้ำเพื่อสร้างทักษะที่เพียงพอ ทำให้ไม่ลำบาก” เมื่อก้าวไปสู่ระดับถัดไป
แล้วจะตัดสินอย่างไรว่าควรให้ก้าวหน้าต่อหรือให้ทำซ้ำ เรามีหลักเกณฑ์ในการประเมินสภาพการเรียนของนักเรียนคือ “ช่วงเวลามาตรฐานที่ควรใช้ในการทำแบบฝึกหัด” ซึ่งระบุไว้ในแบบฝึกหัดแต่ละระดับ เราจะประเมินสภาพการเรียนของนักเรียนจากเวลาที่เขาใช้ในการเรียนโดยเปรียบเทียบกับช่วงเวลามาตรฐานที่ควรใช้ในการทำแบบฝึกหัด โดยไม่คำนึงถึงอายุหรือชั้นเรียน
ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ควรใช้ในการทำแบบฝึกหัดเป็นเพียงเกณฑ์เท่านั้น เราจะให้การสอนหรือให้ทำซ้ำโดยพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพในการเรียน ลักษณะข้อผิด ใช้เวลาทำข้อใดมากเป็นพิเศษ ฯลฯ คุมองให้ความสำคัญกับการสอนอย่างเป็นรายบุคคล จึงสามารถพัฒนาความสามารถของนักเรียนแต่ละคนได้
การเริ่มต้นเรียนจากจุดที่ทำได้และเพิ่มความยากขึ้นทีละน้อยจะช่วยสร้างนิสัยในการเรียนที่ดีให้แก่บุตรหลาน
เมื่อลองสอบถามความคิดเห็นจากครอบครัวที่มีบุตรหลานเรียนคุมองอยู่ มีหลายท่านที่แสดงความพึงพอใจเกี่ยวกับนิสัยการเรียน ผู้ปกครองหลายท่านกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีซึ่งสังเกตเห็นได้ในช่วงแรกคือ “ลูกนั่งที่โต๊ะแล้วเริ่มทำการบ้านด้วยตนเอง” “ลูกทำการบ้านทุกวัน” นั่นเป็นเพราะนักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดในระดับที่ “พอเหมาะพอดี” กับความสามารถทางวิชาการของตนเอง จึงมีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้น
ที่คุมอง เราจะให้นักเรียนทำ “แบบทดสอบวัดระดับ” ก่อนเริ่มเรียน เพื่อประเมินระดับความสามารถทางวิชาการของนักเรียนในขณะนั้นได้อย่างถูกต้อง และหาจุดเริ่มต้นที่นักเรียนจะก้าวไปเรียนได้อย่างราบรื่นที่สุด ดังนั้น จึงมีหลายครั้งที่แม้นักเรียนจะเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น แต่เริ่มเรียนคุมองจากเนื้อหาระดับประถมต้น เนื่องจากนักเรียนจะได้เริ่มเรียนจากเนื้อหาที่ตนเองทำได้โดยไม่ยากลำบาก จึงมีความกระตือรือร้นในการเรียนว่า “เนื้อหาแบบนี้น่าจะทำได้” หรือ “อยากทำอีก!” นักเรียนจึงนั่งที่โต๊ะและเริ่มทำการบ้านได้เองโดยไม่ต้องบอก
ยิ่งไปกว่านั้น แบบฝึกหัดคุมองยังได้รับการออกแบบมาให้มีระดับความยากขึ้นทีละน้อย โดยมีโจทย์ตัวอย่าง คำอธิบาย หรือตัวช่วยที่เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาต่อยอดในการทำโจทย์ข้อต่อไป การทำเช่นนี้นักเรียนจะสั่งสมประสบการณ์ที่ตัวเอง “ทำได้” และ “เข้าใจ” ในเนื้อหาที่ยังไม่เคยเรียนที่โรงเรียนโดยไม่ต้องให้ใครสอน ประสบการณ์เหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการท้าทายกับสิ่งที่ยาก แม้เจอโจทย์ที่รู้สึกว่ายากก็จะลองทำด้วยตนเองก่อน “นิสัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง” ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในอนาคตอย่างแน่นอน
มาตั้งเป้าหมายและพยายามไปด้วยกันเพื่อให้บุตรหลานทำแบบฝึกหัดวิชาที่ตนเองไม่ถนัดได้!
เมื่อขึ้นไปเรียนในชั้นเรียนที่สูงขึ้น บุตรหลานจะเริ่มมีความรู้สึกว่าตนเองไม่ถนัดในวิชาต่างๆ ปัจจุบันนักเรียนที่รู้สึกเช่นนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ที่คุมอง เราจะสังเกตสิ่งที่เด็กแต่ละคน “ทำได้” และ “ทำไม่ได้” รวมทั้งเวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกหัด หลังจากนั้นจึงให้พวกเขาก้าวไปเรียนเนื้อหาต่อไป เช่น วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องใช้การสั่งสมความรู้ นักเรียนจึงต้องท่องสูตรคูณให้ได้ก่อนขึ้นไปทำแบบฝึกหัดเรื่องการคูณ การหาร และเศษส่วน ตามลำดับ หากนักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องการหารหรือตัดทอนเศษส่วนไม่ได้ ก็จะไม่สามารถคำนวณเศษส่วนหรือทศนิยมได้ การพัฒนาทักษะการคำนวณพื้นฐานอย่างเพียงพอก่อนก้าวไปทำเนื้อหาต่อไปด้วยการเรียนคุมอง จะช่วยให้นักเรียนไม่รู้สึกว่าตนเองไม่ถนัดวิชานั้นๆ อีกต่อไป
แนะนำให้สร้าง “นิสัยในการเรียน” ก่อนเป็นลำดับแรก
การสร้าง “นิสัยในการเรียน” ก่อนเข้าเรียนในโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เคล็ดลับในการสร้าง “นิสัยในการเรียน” คือการเริ่มต้นจากเนื้อหาที่บุตรหลานสนใจ และให้ทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง แม้จะทำวันละไม่นาน ขอให้ท่านผู้ปกครองเลือกวิชาเรียนตามความสนใจของบุตรหลาน เช่น ในกรณีที่บุตรหลานมีความสนใจในการนับเลขหรือคำนวณอาจให้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ หรือหากสนใจอ่านหนังสืออาจให้เรียนวิชาภาษาไทย
ที่คุมอง นักเรียนจะได้เริ่มเรียนจากเนื้อหาที่ง่ายและฝึกฝนทำแบบฝึกหัดทั้งที่ศูนย์คุมองและที่บ้าน (การบ้าน) อย่างมีสมาธิเป็นจำนวนหลายครั้ง และเมื่อนักเรียนมีสมาธิได้นานขึ้น พวกเขาจะได้ก้าวไปเรียนเนื้อหาที่ยากขึ้นตามลำดับ นักเรียนจึงได้ฝึกฝนทั้งนิสัยการเรียนและความสามารถทางวิชาการไปพร้อมๆ กัน
การเรียนคุมองช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านทำความเข้าใจ ทักษะการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ และทักษะในการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การเรียนคุมองจึงมีประโยชน์อย่างมากต่อการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมต้นและการเรียนหลังจากขึ้นมัธยมต้นอีกด้วย
ถึงแม้แบบฝึกหัดคุมองไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสอบเข้า แต่ถ้าบุตรหลานพัฒนาความสามารถทางวิชาการระดับสูงและทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งได้เรียนเนื้อหาของชั้นมัธยมเตรียมไว้ก่อนในขณะที่ยังอยู่ชั้นประถม จะเอื้อต่อการสอบเข้ามัธยมต้นและการเรียนหลังจากนั้นอีกด้วย
แน่นอนว่า สำหรับการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมต้นในลำดับต้นๆ ของประเทศ ท่านอาจต้องมีแผนรับมือพิเศษเพื่อเตรียมสอบเข้าในบางช่วง อย่างไรก็ตาม คุมองหวังว่าท่านจะใช้เวลาสำหรับฝึกฝนเทคนิคเพื่อใช้ในการสอบเข้าให้สั้นที่สุด และใช้เวลากับการเรียนที่เป็นประโยชน์หลังจากขึ้นมัธยมต้นไปแล้วให้มากที่สุด สิ่งสำคัญคือการใช้ชีวิตในโรงเรียนมัธยมหลังสอบเข้า
ความสามารถทางวิชาการระดับสูงและทัศนคติในการเรียนที่ดีซึ่งติดตัวบุตรหลานจากการเรียนคุมองจะช่วยให้ชีวิตที่โรงเรียนมัธยมของพวกเขาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การเรียนคุมองจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมบทเรียนและทบทวนบทเรียนที่โรงเรียน
คุมองมีเป้าหมายที่จะสร้างพื้นฐานความสามารถทางวิชาการเพื่อให้นักเรียนไม่ประสบกับความยากลำบากในการเรียนระดับมัธยมผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเอง นักเรียนจะได้เริ่มต้นเรียนจากเนื้อหาและปริมาณที่พอเหมาะพอดีกับตนเอง โดยพิจารณาจากเนื้อหาที่นักเรียนเข้าใจและไม่เข้าใจ และเวลาที่ใช้ในการทำ เช่น ในกรณีที่นักเรียนทำได้ถูกต้องแต่ใช้เวลาในการหาคำตอบนาน และกรณีที่นักเรียนหาคำตอบได้ในทันที จะเห็นได้ว่าใน 2 กรณีนี้ นักเรียนมีระดับความเข้าใจที่ต่างกัน
แบบฝึกหัดคุมองถูกออกแบบมาให้ยากขึ้นทีละน้อย เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นในแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนก้าวไปยังเนื้อหาต่อไป การทำแบบฝึกหัดในลักษณะเช่นนี้ นอกจากจะช่วยเสริมจุดที่นักเรียนไม่ถนัดแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนที่โรงเรียนในชั้นประถมอีกด้วย หากนักเรียนเข้าใจเนื้อหาในระดับที่ตนเองเรียนอยู่เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถท้าทายกับแบบฝึกหัดที่มีเนื้อหาเกินชั้นเรียนของตนเองได้ เมื่อเข้าสู่โรงเรียนมัธยม จำนวนคาบเรียนและหนังสือเรียนจะเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีกิจกรรมชมรมอีกด้วย การเรียนเนื้อหาระดับมัธยมไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้นักเรียนใช้ชีวิตในโรงเรียนมัธยมได้อย่างราบรื่น ดังนั้น ขอให้ทุกท่านนำสิ่งที่ได้จากการเรียนคุมองไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
เริ่มเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมก็ยังไม่สายเกินไป
การเรียนระบบคุมองเป็นการเรียนที่นักเรียนแต่ละคนจะได้เริ่มเรียนจากเนื้อหาที่พอเหมาะพอดีกับตนเอง และก้าวหน้าไปทีละขั้นตามจังหวะของตนเองโดยไม่ยึดติดกับอายุหรือชั้นเรียน นักเรียนชั้นมัธยมต้นที่เรียนคุมองอยู่ต่างเรียนโดยมีเป้าหมายของตนเอง ดังนั้น แม้อยู่ชั้นมัธยมก็สามารถเรียนคุมองได้
โดยพื้นฐานแล้ว นักเรียนควรมาเรียนที่ศูนย์คุมองสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถปรึกษากับคุณครูประจำศูนย์ได้
การมาเรียนที่ศูนย์คุมองสัปดาห์ละ 2 ครั้งจะช่วยสร้างนิสัยในการเรียนที่ดีให้ติดตัวบุตรหลานได้ง่าย นอกจากนี้ จากการสังเกตสภาพการเรียนของบุตรหลานของท่านโดยตรง จะช่วยให้คุณครูให้การสอนที่เหมาะสมกับพวกเขายิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากท่านผู้ปกครองไม่สะดวกพาบุตรหลานมาเรียนที่ศูนย์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง คุณครูจะพิจารณาวิธีการเรียนและปริมาณแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับบุตรหลานไปพร้อมกับท่าน ขอให้ท่านปรึกษากับคุณครูที่ศูนย์คุมอง
*ในกรณีที่เรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ค่าเรียน (รายเดือน) จะเท่ากับนักเรียนที่เรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
เวลาที่ใช้ในการเรียนแต่ละครั้งจะแตกต่างไปตามเนื้อหาที่เรียนหรือสภาพการเรียนของบุตรหลานของท่านในวันนั้น แต่การเรียนในช่วงเริ่มแรกจะเริ่มจากจุดที่ “ง่าย” สำหรับบุตรหลานของท่าน ทำให้บุตรหลานของท่านสามารถทำแบบฝึกหัดได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องโดยใช้เวลาเพียงประมาณ 30 นาทีต่อ 1 วิชา เวลาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของแบบฝึกหัดด้วย เพราะฉะนั้นบางครั้งอาจจะใช้เวลามากกว่าปกติ หรือบางครั้งอาจจะทำเสร็จเร็วกว่าปกติ เมื่อบุตรหลานของท่านทำแบบฝึกหัดที่ศูนย์คุมองเสร็จแล้ว จะได้รับแบบฝึกหัดที่ตรวจแล้วกลับบ้านไปด้วย ท่านสามารถตรวจสอบการทำแบบฝึกหัดของบุตรหลานและให้คำชมที่พวกเขามีสมาธิในการทำแบบฝึกหัดจนเสร็จ
หากมีข้อสงสัยประการใด ท่านสามารถปรึกษากับคุณครูที่ศูนย์คุมองได้ทุกเมื่อ
เวลาทำการของแต่ละศูนย์แตกต่างกัน
คุมองเป็นระบบการเรียนรายบุคคลที่บุตรหลานจะได้ทำแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน ไม่ใช่การเรียนในห้องเรียนที่แยกตามกลุ่มอายุหรือระดับชั้นเรียน อย่างไรก็ตาม บางศูนย์อาจกำหนดช่วงเวลาเรียนโดยแบ่งตามชั้นเรียนของผู้เรียน หรือกำหนดเวลาเพื่อเสริมสร้างจังหวะการเรียนให้แก่ผู้เรียน ขอให้ท่านผู้ปกครองสอบถามเวลาทำการของศูนย์คุมองกับคุณครู ทั้งนี้ท่านสามารถค้นหาเวลาทำการของแต่ละศูนย์ได้ ที่นี่
โดยปกติแล้วศูนย์คุมองจะปิดทำการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ รวมทั้งหยุดในช่วงเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่และสงกรานต์ เป็นต้น
ในกรณีที่วันเรียนของศูนย์คุมองตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทางศูนย์ขออนุญาตปิดทำการในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ นอกจากนี้คุณครูยังต้องเข้าร่วมสัมมนากลุ่มการเรียนรู้ และเยี่ยมชมศูนย์คุมองสาขาต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะการสอนของตนอยู่เป็นประจำ ศูนย์คุมองจึงอาจต้องหยุดทำการโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้นักเรียนมาเรียนที่ศูนย์คุมองน้อยเกินไป ทางศูนย์จะให้นักเรียนมาเรียนชดเชยในวันอื่นแทน
อนึ่ง ในช่วงที่ศูนย์คุมองปิดทำการ คุณครูจะมอบการบ้านให้นักเรียนกลับไปทำที่บ้าน โดยคุณครูจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงเนื้อหาและปริมาณการบ้านที่เหมาะสมจากการสังเกตลักษณะการเรียนของบุตรหลานอย่างละเอียด
สิ่งสำคัญที่สุดคือการเรียนอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมที่บุตรหลานของท่านและตัวผู้ปกครองเองสามารถวางใจได้
ขอให้ท่านพิจารณาแต่ละศูนย์โดยคำนึงถึงระยะห่างระหว่างบ้านของท่านและศูนย์คุมอง รวมไปถึงความปลอดภัยของเส้นทางไป-กลับ
กรุณาปรึกษากับคุณครูที่ศูนย์ ท่านสามารถเลือกเรียน 1 วิชาจาก 3 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
ระบบคุุมองสามารถพัฒนาให้บุตรหลานเก่งในวิชาที่เขาถนัดยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้บุตรหลานเอาชนะวิชาที่ไม่ถนัดให้ได้ หากท่านผู้ปกครองไม่แน่ใจว่าควรให้บุตรหลานเริ่มเรียนวิชาใดก่อน ท่านสามารถปรึกษากับคุณครูของแต่ละสาขาได้ทุกเมื่อ
วิชาคณิตศาสตร์และวิชาการอ่านภาษาไทยจะเป็นเครื่องมือทางความคิดในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ และแสดงออกในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเวลาเรียนวิชาอื่นๆ ส่วนภาษาอังกฤษก็เป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลก ภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการซึมซับและถ่ายทอดวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ
เมื่อนักเรียนเริ่มเรียนหลายวิชา เขาจะทำแบบฝึกหัดด้วยความกระตือรือร้น เมื่อมีจังหวะการเรียนดังกล่าวอย่างเป็นธรรมชาติ นักเรียนจะทำแบบฝึกหัดอย่างมีสมาธิได้มากยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเรียนหลายวิชาจะช่วยส่งเสริมการเรียนอีกวิชาหนึ่ง จึงอาจช่วยให้นักเรียนเรียนก้าวหน้ามากกว่าตอนเรียน 1 วิชา หรือช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาอื่นๆ เมื่อประสบความยากลำบากในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง
คุณครูจะให้การดูแลนักเรียนแต่ละคน และพิจารณาความสามารถทางวิชาการของเขา พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองต่อไป
การเรียนในระบบคุมองนั้น โดยพื้นฐานแล้วเป็น “การเรียนรู้ด้วยตนเอง” อย่างไรก็ตาม คุณครูจะดูแลนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด และเมื่อนักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน คุณครูจะให้คำปรึกษาโดยให้ความสำคัญกับ “ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง” ของนักเรียน ที่ศูนย์คุมอง คุณครูจะให้การสอนเพื่อให้นักเรียน “เข้าใจ” ได้ด้วยตนเองโดยไม่บอกคำตอบโดยทันที ตรงกับคำกล่าวที่ว่า “เราไม่ได้ตกปลาให้เด็ก แต่เราสอนให้เด็กตกปลา”
นอกเหนือจากเวลาที่มีการเรียนการสอน คุณครูจะทบทวนผลการเรียนและลักษณะการเรียนของนักเรียนแต่ละคนอีกครั้ง เพื่อพิจารณาแบบฝึกหัดที่จะให้นักเรียนทำในครั้งถัดไป โดยคุณครูตระหนักว่าเวลาในส่วนนี้มีความสำคัญพอๆ กับเวลาที่ใช้สอนนักเรียนที่ศูนย์
เมื่อทำแบบฝึกหัดของวันนั้นได้ 100 คะแนนเต็มแล้ว นักเรียนจะได้รับการบ้านกลับไปทำที่บ้าน
ขั้นตอนการเรียนพื้นฐานมีดังต่อไปนี้
1. ส่งการบ้าน
2. รับแบบฝึกหัดของวันนั้น
3. ทำแบบฝึกหัด
4. ส่งแบบฝึกหัดเพื่อให้คุณครูตรวจ
5. แก้ข้อผิดจนได้ 100 คะแนนเต็ม
6. นำการบ้านกลับไปทำที่บ้านจนกว่าจะมาเรียนที่ศูนย์คุมองครั้งถัดไป
การทำแบบฝึกหัดทุกวันที่บ้านนอกเหนือจากการเรียนที่ศูนย์คุมองสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จะช่วยสร้างนิสัยในการเรียนและช่วยให้บุตรหลานจดจำเนื้อหาในการเรียนได้เป็นอย่างดี
การเรียนที่ศูนย์คุมองและการทำการบ้านควบคู่กันไปนั้น มีจุดประสงค์เพื่อสร้างนิสัยในการเรียน ซึ่งจะต่อยอดต่อไปเป็นทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ความสามารถทางวิชาการพื้นฐานที่ติดตัวไปจากคุมองมีลักษณะเป็นการฝึกฝน การทำแบบฝึกหัดทุกวันเพื่อให้จดจำเนื้อหาที่เรียนได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
คุมองให้การบ้านโดยคำนึงถึงเนื้อหาและจำนวนแผ่นที่บุตรหลานของท่านสามารถทำได้ รวมไปถึงความสมดุลระหว่างการสร้างนิสัยในการเรียนกับการพัฒนาความสามารถทางวิชาการ
นอกเหนือไปจากการเรียนที่ศูนย์คุมองสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ทางศูนย์จะให้การบ้านเพื่อให้บุตรหลานของท่านสามารถเรียนรู้ที่บ้านได้ จุดประสงค์ของการให้การบ้านคือการสร้างนิสัยในการเรียน รวมไปถึงการสร้างประสิทธิผลจากการเรียนให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองในเวลาอันสั้น ทั้งนี้ ปริมาณของการบ้านจะขึ้นอยู่กับชั้นเรียนและระดับความยากของแบบฝึกหัด แต่โดยปกติแล้วการบ้านของแต่ละระดับจะเป็นปริมาณที่บุตรหลานสามารถทำได้ในเวลาประมาณ 20-30 นาที
ในช่วงแรกที่เริ่มเรียนคุมอง บุตรหลานจะเริ่มเรียนจากจุดที่พวกเขารู้สึกว่า “สามารถทำได้” อย่างมั่นใจ ท่านผู้ปกครองอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการบ้านคุมอง เมื่อบุตรหลานทำแบบฝึกหัดก้าวหน้าไป ท่านสามารถปรึกษากับคุณครูที่ศูนย์ได้ คุณครูจะให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นรายบุคคล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม | อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม (2) | อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม (3)
ท่านไม่สามารถซื้อแบบฝึกหัดคุมองได้
แบบฝึกหัดคุมองที่ใช้เรียนที่ศูนย์แตกต่างจากแบบเรียนที่ขายในท้องตลาด ถึงแม้แบบฝึกหัดคุมองจะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่ช่วยพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียนเมื่อพวกเขาทำแบบฝึกหัดตามลำดับข้อ อย่างไรก็ตาม การจัดแบบฝึกหัดที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียนก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง แบบฝึกหัดคุมองจะแสดงประสิทธิผลที่แท้จริงออกมาได้จากการการประเมินความสามารถทางวิชาการของบุตรหลาน และให้แบบฝึกหัดที่มีเนื้อหาและปริมาณที่พอเหมาะพอดีกับพวกเขา นอกจากนี้ การตรวจแบบฝึกหัดของนักเรียน การประเมินลักษณะของข้อผิดและเวลาที่ใช้ในการเรียนเพื่อพิจารณาแบบฝึกหัดที่ควรให้นักเรียนทำในครั้งถัดไปก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
สิ่งที่กล่าวมาคือหน้าที่และบทบาทของคุณครูที่ศูนย์คุมอง ผลที่ตามมาคือนักเรียนได้พัฒนาความสามารถทางวิชาการระดับสูงได้เร็วยิ่งขึ้น กล่าวคือระบบการเรียนแบบคุมองประกอบด้วยแบบฝึกหัดและการสอนจากคุณครู เมื่่อพร้อมด้วย 2 สิ่งนี้ จึงเรียกว่า “ระบบคุมอง”
เพราะแบบฝึกหัดคุมองเน้นเนื้อหาการเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย
ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าคุมองให้นักเรียนเรียนเนื้อหาที่แตกต่างจากโรงเรียนโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงอนาคตของบุตรหลานของท่าน คุมองมุ่งเน้นที่จะพัฒนาความสามารถทางวิชาการและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งไม่อาจพัฒนาติดตัวพวกเขาได้เพียงข้ามคืน ในขณะเดียวกันคุมองก็ให้ความสำคัญกับคาบเรียนและหนังสือเรียนที่โรงเรียนไปพร้อมกันด้วย สำหรับเนื้อหาที่เรียน เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ คุมองจะเลือกส่วนที่เป็นเนื้อหาหลักซึ่งเชื่อมโยงไปสู่คณิตศาสตร์ในชั้นมัธยมปลาย กล่าวคือ แบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ของคุมองมีโครงสร้างที่เน้นการคำนวณ เพื่อไม่ให้บุตรหลานประสบความยากลำบากหลังจากขึ้นไปเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย
<<ความสัมพันธ์ระหว่างแบบฝึกหัดคุมองกับหนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์>>
นักเรียนจะไม่ประสบความลำบากในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลาย พร้อมทั้งได้สั่งสมประสบการณ์และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเรียนคุมอง การค้นหาศักยภาพในการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน และพัฒนาความสามารถของพวกเขาเหล่านั้นให้ไปยังจุดสูงสุด คือนโยบายพื้นฐานของระบบคุมอง
ภายใต้พันธกิจดังกล่าว นักเรียนจะมีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและได้พัฒนา “ทักษะการคิด” เพื่อวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ผ่านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เพื่อพัฒนา “ทักษะการคิด” ดังกล่าวให้แก่นักเรียน คุมองได้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น นั่นก็คือการพัฒนาความสามารถทางวิชาการเพื่อไม่ให้นักเรียนประสบกับความยากลำบากในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมปลาย เนื่องจากการรับรู้เชิงตัวเลข (Number Sense) และทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นสิ่งที่จะติดตัวพวกเขาผ่านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมปลาย นอกจากนี้ เรายังปรารถนาไม่ให้นักเรียนต้องเลิกล้มความฝันในอนาคตที่มีมาตั้งแต่ชั้นประถมหรือมัธยมต้น ด้วยเหตุผลว่า “ไม่ถนัดวิชาคณิตศาสตร์”
แบบฝึกหัดคุมองเป็นแบบ Small Step จึงออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดด้วยตนเองได้ถึงแม้จะเรียนเนื้อหาที่เกินชั้นเรียนก็ตาม เนื่องจากการเรียนในระบบคุมองคือระบบการเรียนที่นักเรียนจะได้เรียนรู้และคิดด้วยตนเอง จึงช่วยพัฒนาความสามารถทางวิชาการให้ติดตัวนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราหวังให้เด็กจำนวนมากที่สุดก้าวหน้าไปเรียนแบบฝึกหัดในระดับมัธยมปลายอย่างไม่ยากลำบากและไม่สูญเปล่า
คุมองต้องการจะพัฒนาทักษะการสื่อสารระดับสูงให้กับบุุตรหลาน เราจึงให้ความสำคัญกับการเรียน “ฟัง” และ “อ่าน”
สิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กผู้ที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนานาชาตินั้น ไม่ใช่ความสามารถระดับการพูดทักทายหรือแนะนำตัวเท่านั้น แต่เป็นทักษะภาษาอังกฤษระดับสูง เช่น ความสามารถในการจัดการอีเมลภาษาอังกฤษจำนวนมาก ความสามารถในการอภิปรายหรือเจรจาต่อรอง การที่จะพัฒนาความสามารถเหล่านี้ การฝึกโดยเน้นการ “ฟัง” และ “อ่าน” จึงเป็นสิ่งสำคัญ
คุมองมีแนวความคิดว่า “หากฟังไม่ออกก็จะพูดไม่ได้” “หากอ่านไม่ออกก็จะเขียนไม่ได้” ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับ “การฟัง” และ “การอ่าน” คลังคำศัพท์และความสามารถในการถ่ายทอดที่ได้จากการ “ฟัง” และ “อ่าน” คลังคำศัพท์และประโยคจำนวนมากจะเป็นพื้นฐานของทักษะภาษาอังกฤษ
ยิ่งไปกว่านี้ ในการเรียนภาษาอังกฤษของคุมอง เด็กจะได้ “พูด” และ “เขียน” เป็นจำนวนมาก จึงสามารถพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
วิชาภาษาไทยของคุมองจะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านระดับสูง
วิชาภาษาไทยของคุมองมีเป้าหมายให้เด็กๆ ได้เห็นคำศัพท์และประโยคจำนวนมาก เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการอ่านทำความเข้าใจระดับสูงและเนื่องจากการมีทักษะ “อ่านแล้วเข้าใจ” จะนำไปสู่ทักษะการทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ และนำไปคิดต่อและทักษะการนำเสนอความคิดของตนเอง
การพัฒนาทักษะ “การอ่านและเขียนตัวอักษร” “คลังคำศัพท์” “การทำความเข้าใจโครงสร้างประโยค” ผ่านการฝึก “อ่านแล้วจึงเขียน” ด้วยแบบฝึกหัดที่ยากขึ้นทีละน้อย โครงสร้างของแบบฝึกหัด 10 แผ่นจะประกอบกันเป็นนิทานหรือบทความ 1 เรื่อง นักเรียนจะได้อ่านส่วนหนึ่งของบทความ (หรือบทความเต็ม) ทำให้มีประสบการณ์การอ่านที่กว้างขวางผ่านการทำแบบฝึกหัด
ประสบการณ์จากการ “อ่านทำความเข้าใจ” บทความเป็นจำนวนมากจะทำให้เด็กรู้จักคำศัพท์จำนวนมากและเกิดทักษะในการวางโครงสร้างของเรียงความ ซึ่งจะนำไปสู่ทักษะในการเขียน
ในโรงเรียนประถม เด็กๆ จะมีโอกาสได้เขียนเรียงความหลายครั้ง เช่น เรียงความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน เด็กหลายๆ คน แม้จะสนทนาได้ไม่ติดขัดแต่ไม่สามารถเรียงความได้อย่างคล่องแคล่ว
การจะเขียนเรียงความได้ดีจำเป็นต้องมีทักษะ 2 อย่าง
・ทักษะการถ่ายทอดความคิดเห็นของตนเองออกมาเป็นคำพูด (คลังคำศัพท์)
・ทักษะการเขียนประโยคด้วยโครงสร้างที่ถูกต้อง (มีทักษะการเขียนประโยค)
เช่น เมื่อให้เขียนความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านไป เด็กบางคนจะเขียนได้เพียง “สนุกมาก” “น่าสนใจมาก” อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่รู้จักคำศัพท์อื่นที่จะมาอธิบายความรู้สึกของตนเองนอกจากคำว่า “สนุก” หรือ “น่าสนใจ” หรืออาจจะรู้จักคำศัพท์อื่น แต่ไม่รู้ว่าจะเรียบเรียงอย่างไรดี ถ้าเช่นนั้น ต้องทำอย่างไรให้เด็กๆ รู้จักคำศัพท์จำนวนมากและมีทักษะการเขียนประโยค คุมองมีแนวคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการ “พัฒนาทักษะการอ่าน” เมื่อทำแบบฝึกหัดวิชาภาษาไทยของคุมอง เด็กๆ จะได้อ่านบทความหลากหลายรูปแบบ และทำความรู้จักกับคำศัพท์และสำนวนใหม่ๆ และพัฒนาทักษะการอ่านทำความเข้าใจบทความที่มีความซับซ้อนผ่านการฝึกจัดระเบียบโครงสร้างของบทความและเรียบเรียงเนื้อความใหม่ ทำให้สามารถอ่านและทำความเข้าใจขณะอ่านได้แม้แต่กับบทความที่มีความซับซ้อน
เราไม่สามารถใช้คำที่เราอ่านไม่ออกหรือสำนวนที่ไม่เคยเห็น ดังนั้น การเริ่มจากสะสมประสบการณ์ในการ “อ่านทำความเข้าใจ” บทความจำนวนมากจะทำให้เด็กรู้จักคำศัพท์จำนวนมากและเกิดทักษะการเขียนประโยค ซึ่งจะนำไปสู่ทักษะการเขียนต่อไป
ท่านสามารถสมัครเรียนที่ศูนย์คุมองโดยตรง
ท่านสามารถติดต่อคุณครูของศูนย์คุมองเพื่อแจ้งความประสงค์โดยตรง และปรึกษากับคุณครูเพื่อนัดหมายวันที่จะไปที่ศูนย์
สำหรับท่านที่กำลังลังเล ท่านสามารถสอบถามไปยังศูนย์คุมองทุกศูนย์ได้โดยตรง คุณครูทุกท่านยินดีตอบทุกคำถามและข้อสงสัยของท่าน