ถ้าหนูจะเป็นนักบิน ต้องเรียนเก่งทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษนะ!

 

ถ้าหนูจะเป็นนักบิน ต้องเรียนเก่งทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษนะ!

 

 

 

ด้วยความประทับใจที่ได้เดินทางโดยเครื่องบิน ทำให้น้องอยากเป็น “นักบิน” คุณลุงที่เป็นกัปตันเลยบอกน้องว่า “ถ้าอย่างนั้นหนูจะต้องเก่งทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษนะ” ตอนนั้นแก้มบุ๋มอยู่อนุบาล 1 เมื่อน้องมีความฝันคุณแม่ก็อยากที่จะเติมเต็มความฝันให้เขา เมื่อน้องมีแรงจูงใจและเป้าหมายแล้ว ผู้ปกครองอย่างเราก็มีหน้าที่เตรียมความพร้อมต่างๆ ให้กับเขา คุณแม่เองเริ่มที่จะหาข้อมูลในเรื่องนี้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะมีที่ไหนรับสอนเด็กเล็กๆ บ้าง และคุณแม่พบว่าแนวการสอนของคุมองจะช่วยส่งเสริมทักษะต่างๆ ของแก้มบุ๋มได้ พอดีกับที่คุมองมีกิจกรรมทดลองเรียน เราเลยพากันมาลองเรียน โดยเริ่มที่วิชาคณิตศาสตร์ก่อน ตอนนั้นน้องเริ่มต้นเรียนที่ระดับแรกเลย คือเรื่องจำนวน ตัวเลขและฝึกลากเส้น หลังจากเรียนไปได้ 2 อาทิตย์ เราเห็นพัฒนาการของเขาว่าเขาสามารถที่จะทำแบบฝึกหัดให้เสร็จได้ตามที่กำหนด คุณแม่เลยถามคุณครูว่าน้องสามารถเรียนต่อได้หรือไม่ คุณครูบอกว่า การเริ่มสร้างทักษะที่ดีให้กับลูกควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุด เด็กเล็กก็สามารถเรียนได้ แต่คุณแม่จะต้องมีความพร้อมด้วยเช่นกัน

 

 

 

“อะไรคือความพร้อมของผู้ปกครองที่ต้องมีคะ?

คุณแม่ : เราต้องมี “ใจ” ค่ะ ใจที่เชื่อว่าลูกเราทำได้และต้องเชื่อว่าสิ่งที่เรามอบให้กับเขาเป็น “ประโยชน์” ที่จะเกิดในอนาคต และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือการมองเห็นถึง “พัฒนาการ” ของลูกมากกว่า “ความคาดหวัง” ของเรา คุณแม่เคยได้รับคำแนะนำจากคุณหมอว่า เด็กควรมีกิจกรรมอะไรที่ทำเป็นประจำโดยกำหนดระยะเวลาและเป้าหมาย การฝึกเช่นนี้จะช่วยสร้างสมาธิให้กับเด็กได้มาก ดังนั้นคุมองจึงเป็นกิจกรรมของครอบครัวเราค่ะ ตอนน้องยังเล็กเราต้องจัดสภาพแวดล้อมในการทำแบบฝึกหัดที่บ้านให้เหมาะกับเขา และจัดตารางเวลาในการทำแบบฝึกหัดเป็นประจำ และที่สำคัญเราต้องเป็นกำลังใจให้กับเขาเมื่อเขาท้อ และชื่นชมเขาเมื่อเขาทำได้เสมอ นั่นคือความพร้อมของผู้ปกครองค่ะ

 

 

“เคยเบื่อบ้างไหม?

น้องแก้มบุ๋ม : (หัวเราะ) บ่อยค่ะ คือความเบื่อมันมาเป็นช่วงๆ ค่ะ มันเกิดจากทั้งปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นงานที่โรงเรียน กิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมและจากตัวเราเองเมื่อเนื้อหาในแบบฝึกหัดยากขึ้น แต่โชคดีที่หนูเริ่มเรียนคุมองตั้งแต่ยังเล็ก และคุณแม่ก็ให้กำลังใจมาตลอดทำให้เรามีกำลังในการฮึดสู้ อย่างช่วงที่เรียนเกินชั้นเรียนไปมากๆ เนื้อหาใหม่ก็เริ่มยากขึ้นและเป็นเนื้อหาที่ยังไม่มีที่โรงเรียน หนูก็คิดว่าแล้วหนูจะเรียนไปทำไม จะเลิกเรียนดีไหม

 

 

“แล้วเริ่มรู้สึกว่าเราเริ่มมาถูกทางตอนไหนคะ?

น้องแก้มบุ๋ม : หลังจากที่หนูเรียนเกินชั้นเรียนไปมากๆ แล้วพบว่าหนูสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากแบบฝึกหัด การสั่งสมทักษะ และการพึ่งพาตนเองนั้นทำให้หนูสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือค้นหาสิ่งที่หนูสนใจเพิ่มเติมได้ และเมื่อผ่านไปสักพักหนูพบว่าเนื้อหาที่หนูเรียนเกินชั้นเรียนมาเริ่มมีสอนที่โรงเรียนทำให้เข้าใจที่คุณครูสอนได้อย่างรวดเร็วและยังสามารถช่วยอธิบายเพื่อนๆ ในห้องได้ด้วย มันเป็นความรู้สึกที่ดีมากๆ ค่ะ ที่เราสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

ช่วงที่เรียนเกินชั้นเรียนไปมากๆ ถึงจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุด แต่ด้วยกำลังใจที่ได้จากคุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งทักษะและความอุตสาหะที่หนูสั่งสมมาจากการเริ่มเรียนคุมองตั้งแต่อนุบาล ทำให้หนูสามารถเอาชนะใจตัวเองและผ่านช่วงเวลานั้นมาได้ค่ะ ตอนนี้หนูอยู่ เกรด 9 (ม.3) และทำคุมองวิชาคณิตศาสตร์ระดับ M (ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ สมการเส้นตรง และสมการวงกลม) ซึ่งเป็นเนื้อหาระดับชั้นมัธยมปลาย

 

 

“ก้าวแรกที่ทำให้ชอบภาษาอังกฤษเกิดขึ้นจากการที่ได้อ่านเรื่องสนุกๆ ในแบบฝึกหัดคุมอง”

 

“เริ่มเรียนภาษาอังกฤษตอนไหนคะ?

เริ่มจากมาทดลองเรียนวิชาภาษาอังกฤษ EFL ค่ะ พอเริ่มเรียนทำให้หนูได้เรียนรู้คำศัพท์มากขึ้นและฝึกอ่าน โดยเริ่มจาก วลี ประโยค บทความสั้นๆ และเนื้อเรื่องที่ค่อยๆ ยาวขึ้น การฝึกฝนทำแบบฝึกหัดทุกๆ วันอย่างต่อเนื่องทำให้หนูมีคลังคำศัพท์และสามารถอ่านจับใจความได้ดี ซึ่งทักษะนี้มีความจำเป็นมากต่อการเรียนที่โรงเรียน นอกจากนี้เนื้อเรื่องต่างๆ ในแบบฝึกหัดก็น่าสนใจ อย่างเช่นเรื่อง “พีระมิดแห่งเมืองกิเซห์” ในระดับ M* หรือ เรื่อง “Goal” ในระดับ N* ที่เนื้อหาสนุกจนหนูต้องตามไปหาหนังสือมาอ่านจนจบ การอ่านทำให้หนูเพิ่มพูนประสบการณ์และมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นค่ะ

*วิชาภาษาอังกฤษ EFL ระดับ M-N อ่านเรื่องและบทความที่มีความยาวประมาณ 1,000-1,200 คำต่อแบบฝึกหัด10 แผ่น

 

 

“นอกจากเรื่องราวสนุกๆ ในแบบฝึกหัดแล้วหนูได้อะไรจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอีกคะ?

หนูเข้าใจเรื่อง Tenses (การเปลี่ยนรูปกริยา) ค่ะ และที่สำคัญคือ Comprehension (การจับใจความ) โดยเฉพาะการทำข้อสอบ เราสามารถอ่านเรื่องยาวๆ แล้วจับประเด็นได้ว่า คำถามต้องการถามอะไรจึงหาคำตอบได้ไม่ยาก

 

“เป้าหมายต่อไปของน้องแก้มบุ๋มคืออะไรคะ?

จบระดับสุดท้ายวิชาคณิตศาสตร์ค่ะ ถึงตอนนี้ความฝันของหนูที่อยากจะเป็นนักบินยังคงอยู่ แต่ก็แอบชอบอาชีพอื่นๆ

อย่างจิตแพทย์ และนักเขียนด้วย ต้องขอบพระคุณคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ที่ให้โอกาสหนูเรียนคุมอง ทำให้ตอนนี้หนูมีความมั่นใจทั้งคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้หนูมีโอกาสเลือกในสิ่งที่หนูชอบได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านวิชาการ และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอทำให้หนูมีความรับผิดชอบและทักษะในการบริหารจัดการเวลาจนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับโรงเรียน และสามารถทำในสิ่งอื่นๆ ที่หนูสนใจ เช่น ร้องเพลงและการเต้นได้โดยไม่กระทบกับการเรียน

 

 

“อยากฝากอะไรถึงเพื่อนๆ และผู้ปกครองบ้างคะ?

อยากบอกเพื่อนๆ ว่า สิ่งที่เราเพียรพยายามอยู่ทุกวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองในอนาคตอย่างแน่นอนค่ะ

 

คุณแม่เชื่อว่า ศักยภาพสร้างได้ตั้งแต่วัยเยาว์ การฝึกให้เขามีทักษะที่จะคิดได้ด้วยตัวเองนั้นต้องใช้เวลาในการสร้าง เช่นเดียวกับสมาธิ เราก็ต้องค่อยๆ สร้าง ซึ่งแน่นอนต้องอาศัยเวลาและความเข้าใจของพ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้าเราสังเกตเราจะรู้ได้ว่าลูกเรามีพัฒนาการดีขึ้นในทุกๆ วัน กำลังใจและคำชม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยจุดประกายความมุ่งมั่นให้กับเขา คุณแม่ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ปกครองทุกๆ คนนะคะ

 

 

*******

 

น้องแก้มบุ๋ม และ คุณแม่

ปัณดารีย์ บุญมาก (แก้มบุ๋ม) – มัธยมศึกษาปีที่ 3

เรียนจบระดับสุดท้ายวิชาภาษาอังกฤษ EFL (ปี 2019)

ปัจจุบันกำลังศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ M (ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ สมการเส้นตรง และสมการวงกลม)

อ่านเรื่องราวความประทับใจอื่นๆ ได้ที่นี่

ถ้าตัดสินใจให้หยุดเรียน คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย!

การเตรียมความพร้อมให้ลูกก่อนขึ้น ป.1 เป็นสิ่งจำเป็นมาก ยิ่งเขาสามารถอ่านออกและเข้าใจเรื่องราวได้เร็วเท่าไร ยิ่งทำให้เขาสามารถเรียนรู้และพัฒนาสิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น

พัฒนาการของลูกมีให้เห็นได้ทุกขณะ ตราบที่เขายังได้ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง

คุณแม่ไม่เคยให้น้องหยุดเรียนคุมองเลยตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา จากเด็กป.5 ที่หารเลขไม่เป็น พลิกมาได้ที่ 1 ของห้องเพียงเพราะการฝึกฝนสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง

การอ่านออกไม่ได้หมายความว่าอ่านแล้วเข้าใจ

เมื่อเราสามารถอ่านแล้วเข้าใจ จับใจความสำคัญได้ดี ทักษะนี้สามารถนำไปบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาสังคม ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์

jirayoon

About jirayoon